สาระน่ารู้

การใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อรับบริการที่โรงพยาบาลลานสกา

ขอความร่วมมือ ผู้รับบริการทุกท่านนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง มาแสดงทุกครั้งที่เข้ารับบริการกรณีเด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้นำสำเนาสูติบัตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนตัวจริงผู้ปกครองมาแสดงตัวตนเพื่อเข้ารับบริการ ทุกครั้ง

อ้วนลงพุง เสี่ยงหลายโรค

           โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา   รู้ได้อย่างไรว่าเป็น “โรคอ้วน” วิธีวัดไขมันมีหลายรูปแบบ โดยที่นิยมกันคือ การวัดจากดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index – BMI และการตรวจวัดรอบเอว โดยทั่วไปแล้ว ควรมีค่า BMI อยู่ที่ระหว่าง 18.5-22.9 kg/m2 หากมากหรือน้อยกว่านี้ จะเกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคต่างๆ ค่า BMI < 18.5 – 22.9 kg/m² เรียกว่า “ปกติ” ค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน” ค่า BMI > 25 kg/m² เรียกว่า …

อ้วนลงพุง เสี่ยงหลายโรค Read More »

ข้อควรระวัง โรคฝีดาษลิง

Sci News Flash: ข้อควรระวัง โรคฝีดาษลิง การระบาดของโรคฝีดาษลิงที่เริ่มลุกลามไปหลายประเทศ ทำให้ทั่วโลกต่างเฝ้าจับตา โดยเฉพาะนักวิจัยที่พยายามศึกษาและเฝ้าสังเกตว่าผู้ป่วยฝีดาษลิงที่พบจากการระบาดในปัจจุบันมีความแตกต่างไปจากผู้ป่วยฝีดาษลิงที่เคยพบในอดีตหรือไม่ เพื่อให้สามารถป้องกันและรับมือกับไวรัสตัวใหม่ได้อย่างเท่าทันและมีประสิทธิภาพ อ้างอิงข้อมูล 1) ดร.อนันต์ จงแก้วพัฒนา ไบโอเทค สวทช. 2) The Lancet: https://bit.ly/3t5TNXC 3) Jama Network: https://bit.ly/3O2h0Cn Sci News Flash: เปิดข้อเท็จจริง “โรคฝีดาษลิง” แม้โรคฝีดาษลิงจะยังมาไม่ถึงประเทศไทยและไม่ใช่โรคอุบัติใหม่แบบโควิด-19 แต่โรคฝีดาษลิงที่กำลังระบาดอยู่ในหลายประเทศตอนนี้ได้สร้างความกังวลใจให้แก่ผู้คนจำนวนมาก เพราะไม่รู้ถึงที่มาที่ไปของไวรัสร้าย จนเกิดคำถามมากมาย เช่น มีพิษสงร้ายกาจแค่ไหน แพร่กระจายได้ดีหรือไม่ คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากแบบฝีดาษคนหรือโควิด-19 หรือเปล่า ฯลฯ ดังนั้นมาร่วมคลายความสงสัย ทำความเข้าใจถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงผ่านอินโฟกราฟิกฉบับนี้กัน ขอขอบคุณที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

คำแนะนำหากต้องถอดหน้ากากอนามัย

เมื่อใดที่ควร “ถอดหน้ากากอนามัย” แนวทาง “การถอดหน้ากากอนามัย” นั้นเป็นไปตามความสมัครใจ ไม่ได้มีการบังคับให้ทุกคนต้องถอดหน้ากากทั้งหมด โดยมีข้อแนะดังนี้ ในอาคารขณะอยู่คนเดียว บริเวณอากาศถ่ายเทสะดวก ร้านอาหาร/ ตลาด ขนส่งสาธารณะ ในอาคาร ที่สามารถเว้นระยะห่างได้ สถานที่ออกกำลังกาย สถานที่จัดงานแสดงต่างๆ บุคคลที่ควรต้อง “สวมหน้ากากอนามัย” ตลอดเวลา มีด้วยกัน 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 608 ซึ่งได้แก่ ผู้สูงวัย ผู้ที่มีโรคประจำตัว หญิงมีครรภ์ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่เหมาะสม ผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้มีประวัติเสี่ยงสูง และยังจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น ผู้ที่ปฏิบัติงานหรือมีหน้าที่ให้บริการซึ่งใกล้ชิดกับบุคคลอื่นๆ ทั้งนี้ สำหรับแนวปฏิบัติใน “การสวมหน้ากากอนามัย” ทั้งในสถานที่ปิดและสถานที่เปิด มีดังต่อไปนี้ เมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ อยู่ในที่แออัด มีการรวมกลุ่มคน อยู่บริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเท อยู่ในสถานพยาบาล หรือพื้นที่ที่มีผู้ป่วย หมายเหตุ: “หน้ากากอนามัย” มีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อโรคโควิด-19 จึงยังควรพกหน้ากากติดตัวทุกครั้งเมื่อออกไปสถานที่ข้างนอกทุกครั้ง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top